หลายๆคนกลัวการตรวจแมมโมแกรม
เพราะกลัวเจ็บจากการตรวจ
แต่โดยแท้จริงแล้ว
ทราบหรือไม่ว่าหากมีการเตรียมตัวอย่างดี โอกาสตรวจแล้วเจ็บจะลดลงไปได้มากทีเดียว
ถ้าอย่างนั้นมาติดตามวิธีลดการเจ็บจากการตรวจแมมโมแกรมกันเถอะ...
ปัจจัยที่มีผลต่อการเจ็บ
ระหว่างตรวจแมมโมแกรม
มีอยู่ 3
ปัจจัยดังต่อไปนี้
ความชำนาญของเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจ
เจ้าหน้าที่ที่มากประสบการณ์จะเข้าใจการจัดท่าตรวจผู้ป่วยแต่ละคนอย่างระมัดระวัง
รู้จักปรับระดับความสูงของเครื่องตรวจให้พอเหมาะกับรูปร่างของผู้รับการตรวจ
จึงมีผลให้การตรวจไม่เจ็บหรือเจ็บน้อยลงได้
ความกังวลของผู้รับการตรวจ
หากจิตใจของผู้รับการตรวจปักใจเชื่อว่า
มันจะต้องเจ็บ ผลที่ได้รับก็จะเพิ่มความรุนแรงขึ้น
ดังนั้นการพยายามโน้มน้าวจิตใจไม่ให้คิดไปในทางลบจะช่วยลดโอกาสการเจ็บระหว่างตรวจลงได้
โครงสร้างเต้านมของผู้รับการตรวจ
โดยทั่วไปหากเต้านมตึงคัดจะมีโอกาสเจ็บได้ง่ายกว่า
หรือผู้ที่มีถุงน้ำในเต้านมก็จะยิ่งมีโอกาสเจ็บระหว่างตรวจแมมโมแกรมได้มากขึ้นแต่ไม่จำเป็นต้องเกิดเสมอไปสำหรับทุกคน
ลดอาการปวดระหว่างตรวจแมมโมแกรม
ได้อย่างไร?
อันดับแรกเลย
คือ สืบค้น หรือสอบถามจากผู้เคยตรวจมาก่อน ว่า ผู้ให้บริการที่ไหนดี ตรวจแล้วไม่เจ็บ
ผู้ให้บริการแมมโมแกรมในภาคตะวันออก มีดังต่อไปนี้
จังหวัดระยอง
บีอาร์เอกซ์จีโพลิคลินิก
(คลินิกเอกชน) โทร. 033060399, 0994914129
โรงพยาบาลกรุงเทพระยอง
(รพ. เอกชน) โทร. 038921999
จังหวัดชลบุรี
โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ (รพ.รัฐบาล)
โทร. 038245700
โรงพยาบาลชลบุรี
(รพ. รัฐบาล) โทร. 038931000
โรงพยาบาลเอกชล (รพ. เอกชน)
โทร. 038939999
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ชลเวช (รพ. เอกชน) โทร. 0382843545
โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี (รพ. เอกชน) โทร. 033038888
โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา (รพ. เอกชน)
โทร. 038320300
โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา
(รพ. เอกชน) โทร. 038317333
โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา (รพ. เอกชน)
โทร. 038259999
จังหวัดจันทบุรี
โรงพยาบาลพระปกเกล้า
จันทบุรี (รพ. รัฐบาล) โทร. 039319666
โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี (รพ. เอกชน) โทร.
039319888, 039602177
จังหวัดตราด
โรงพยาบาลกรุงเทพตราด
(รพ. เอกชน) โทร. 039612000
จังหวัดฉะเชิงเทรา
โรงพยาบาลพุทธโสธร
(รพ. รัฐบาล) โทร. 038814375
โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา (รพ. เอกชน) โทร. 033050600
หากใครตรวจแล้วมีอาการปวดหลังหรือปวดคอ
โปรดอย่าเกรงใจที่จะบอกกับเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจ เพื่อจะปรับตำแหน่งเครื่องตรวจให้เหมาะสมกับตัวคุณ
วิธีลดอาการเจ็บจากการตรวจแมมโมแกรมด้วยตัวคุณเอง
ได้แก่
เลือกเวลาตรวจ: ระยะเวลาที่เต้านมไม่คัดตึงและตรวจแล้วไม่เจ็บจะเป็นประมาณหนึ่งสัปดาห์หลังจากมีประจำเดือน
ระยะที่ก่อนหรือกำลังมีประจำเดือนอาจจะมีผลให้เจ็บเต้านมมากกว่าปกติได้
ประวัติ: หากมีประวัติโรคถุงน้ำในเต้านมและเคยมีอาการเจ็บอยู่แล้วควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ
กาแฟและบุหรี่: มีงานวิจัยจำนวนหนึ่งที่สรุปว่าการงดกาแฟและบุหรี่สามารถช่วยลดความเจ็บปวดจากการตรวจแมมโมแกรมได้
ยา: การรับประทานยาแก้ปวดก่อนการตรวจครึ่งหรือหนึ่งชั่วโมง
สามารถลดอาการปวดระหว่างการตรวจได้
แผ่นรอง: เครื่องแมมโมแกรมบางรุ่นจะมีแผ่นนุ่มๆรองเต้านมไม่ให้เต้านมสัมผัสกับแผ่นรับภาพโดยตรงซึ่งช่วยลดการเจ็บปวดได้
การหายใจ: การหายใจช้าและลึกก่อนจะตรวจสามารถช่วยลดความตึงเครียดและมีส่วนให้เจ็บลดลงได้
อยู่นิ่งๆ: การขยับตัวระหว่างกำลังเอกซเรย์ทำให้ภาพไม่ชัดและถูกตรวจซ้ำและใช้เวลานานขึ้นอาจจะเพิ่มโอกาสให้เจ็บเต้านมได้
จึงควรอยู่นิ่งให้เต็มที่ตามที่เจ้าหน้าที่แมมโมแกรมร้องขอ
เลื่อนการตรวจในกรณีกำลังให้นมบุตร:
หากเป็นกรณีไม่เร่งด่วน
ไม่จำเป็นต้องรีบตรวจแมมโมแกรม
ให้สอบถามแพทย์ว่าสามารถเลื่อนการตรวจไปอีกสักระยะได้หรือไม่จนกว่าจะไม่ได้ให้นมบุตรจนเต้านมลดอาการตึงคัดแล้วจึงค่อยมาทำการตรวจ
การตรวจแมมโมแกรมมีความสำคัญในการคัดกรองหามะเร็งเต้านมให้พบตั้งแต่เนิ่นๆ
เราจึงไม่ควรกลัวการตรวจเนื่องด้วยเหตุผลเรื่องกลัวเจ็บจากการตรวจ
และเมื่อคุณได้เรียนรู้วิธีลดอาการปวดดังกล่าวข้างต้นแล้วก็ไม่ต้องกลัวอีกต่อไป
ขอให้ตรวจแมมโมแกรมอย่างมีความสุขนะครับ
กลับสู่ สารบัญบทความ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น