มะเร็งปอด อัพเดทแนวทางการค้นพบ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่น่ารัก 

พบกับบทความของ หมอรัฐวัชร์ อีกครั้งนะครับ
มาคราวนี้ หมอมีเรื่อง "มะเร็งปอด" มาบอกเล่า


ภาพวาดแสดงตัวอย่างมะเร็งที่เกิดขึ้นในปอด

แต่จะไม่ขอกล่าวถึงเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนกับบทความจากเว็บที่อื่น จะได้ไม่ยืดยาวเกินไป ซึ่งคุณผู้อ่านที่รักสามารถค้นหาอ่านได้ทั่วไปได้อยู่แล้วนะครับ
เราจะเข้าประเด็นสำคัญๆที่ชัดเจนสำหรับคุณไปเลยดีกว่า ไหมครับ?

มะเร็งปอดพบบ่อยไหม?
พบบ่อยนะครับ แค่ไหนนะหรือ?  ติดหนึ่งในห้าอันดับแรกของมะเร็งทั้งหมดเลยเชียว

สาเหตุแน่นอน?
ไม่ทราบ

วิธีลดความเสี่ยง
โดยสรุป ไม่รับประกันว่าจะป้องกันได้ 100% ตัวอย่างเช่น
คุณเลิกสูบบุหรี่ได้ไหม?
ได้หรือไม่ได้ แล้วแต่คุณ
คุณหนีอากาศเสียได้ไหม?
ได้ แต่ก็ยากกว่าเลิกบุหรี่อีกใช่ไหมครับ
คุณห้ามอายุไม่ให้แก่เกิน 40 ปีได้ไหม?
ไม่มีทาง ! เลย
มีพ่อแม่พี่น้องเป็นมะเร็งปอด
จะห้ามยังไงเนี่ย?

ควรจะรอให้มีอาการก่อนไหม?
ไม่ควร เพราะเกือบทั้งหมดมีอาการและมาตรวจพบก็จะเข้าระยะที่รักษาไม่หายขาดเสียแล้วครับ
แต่ก็ยังมีอีกผู้อ่านอีกจำนวนมากยังอยากทราบอาการอยู่ดี จึงขอบอกให้ทราบด้วย แต่อย่าไปคาดหวังกับอาการมากเพราะมันเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง อาจจะเป็นโรคอื่นก็ได้ หมอจึงไม่อยากเน้นมากนัก ได้แก่ ไอ, ไอเป็นเลือด, หายใจเหนื่อย, หายใจมีเสียงวีีด, เจ็บหน้าอก หรือ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

จะตรวจหามะเร็งระยะแรกได้อย่างไร?

เดิมทำอย่างไร?
ที่เราปฏิบัติกันแม้กระทั่งทุกวันนี้ คือการเอกซเรย์ทรวงอกปีละหนึ่งครั้ง กลับกลายเป็นว่า ไม่ช่วยลดอัตราการตายจากมะเร็งปอดได้ครับ เพราะภาพเอกซเรย์ทั่วไปไม่ละเอียดพอที่จะเจอเนื้องอกมะเร็งขนาดเล็กที่อาจซ้อนทับกับอวัยวะอื่นนั่นเอง 
ตัวอย่างภาพเอกซเรย์ทรวงอก ในกรอบสี่เหลี่ยมจะเห็นก้อนกลมๆสีขาว ตรงนั้นคือเนื้องอก เมื่อเจาะตรวจพิสูจน์เนื้อเยื่อพบว่าเป็นมะเร็งปอด คุณคิดว่าหากก้อนกลมนี้บังเอิญเกิดขึ้นซ้อนทับกับเงาสีขาวตรงกลาง เราจะมองเห็นมันไหม?
ด้านล่างนี่คือ ภาพเอกซเรย์ทรวงอกที่ปกติ
ภาพเอกซเรย์ทรวงอกที่ดูแล้วปกติ เป็นภาพขาวดำสองมิติ เนื้อปอดบรรจุอากาศอยู่มากกว่าเนื้อเยื่ออื่นจึงเห็นเป็นสีดำ แต่เนื่องจากทีการทับซ้อนกับอวัยวะอื่นอยู่บ้างเช่นหัวใจตรงกลาง และกระดูกสันหลังตรงกลาง (เห็นเป็นปล้องๆ)
ภาพต่อไปนี้คือเอกซเรย์เหมือนภาพเดิมข้างต้นแต่ หมอได้วาดกรอบแสดงส่วนที่มีโอกาสบังรอยโรคทำให้มองไม่เห็นก้อนได้ชัด
ภายในขอบเขตของเส้นสีเขียวนี้ จะเห็นว่าเป็นเงาสีขาวทึบ หากว่ามีก้อนเกิดทับซ้อนกับบริเวณนี้จะสังเกตเห็นได้ยาก กว่าจะเห็นต้องรอให้ก้อนโตขึ้นมาอีกระยะหนึ่ง

แล้วทำอย่างไรให้เจอมะเร็งปอดเร็ว?
ต้องทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของทรวงอก (low dose CT Scan) ครับ วิธีนี้เห็นก้อนเนื้องอกตั้งแต่ยังขนาด 5 มิลลิเมตร ทำให้ผ่าตัดได้ทันเวลาครับ
ภาพขั้นตอนการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ผู้รับการตรวจจะนอนบนเตียงล้อมรอบด้วยอุโมงรูปวงแหวน ขณะที่สแกนหลอดเอกซเรย์จะหมุนรอบตัวผู้รับการตรวจ เวลาสแกนแค่ไม่เกิน 20 วินาทีเท่านั้นเอง ไม่มีการสอดเข็มหรือทำให้เจ็บปวดใดๆในขั้นตอนนี้ครับ
ภาพที่ได้ให้รายละเอียดมากกว่า
ภาพอธิบายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ลองนึกถึงภาพขนมปังที่ถูกหั่นเป็นแผ่นบางๆจนทั่วทั้งก้อน หรือคุณหั่นผลส้มออกเป็นแผ่นๆ แล้วหยิบแต่ละแผ่นมาดูอย่างละเอียด แน่นอนว่าคุณจะต้องทราบรายละเอียดที่ชัดเจนกว่าการดูภาพ 2 มิติแน่นอน

ลองเปรียบเทียบภาพเอกซเรย์ธรรมดากับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ดูนะครับ

ข้างล่างนี้คือภาพเอกซเรย์ทรวงอกทั่วไป



รูปภาพเดียวกับภาพบนก่อนหน้า แต่ให้สังเกตจุดสีแดงซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นก้อนเล็กๆซึ่งสังเกตได้ยาก


นี่คือภาพส่วนหนึ่ง (เปรียบได้กับแผ่นหนึ่งของขนมปัง) ของเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เลือกเฉพาะส่วนที่เห็นก้อนเล็กๆ ที่เอกซเรย์ธรรมดามองไม่เห็น
ก้อนเล็กขนาดนี้ (เล็กกว่า 1 ซม) และซ้อนอยู่หลังเงาหัวใจในภาพเอกซเรย์ธรรม ไม่สามารถเห็นได้แต่ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ไม่มีการทับซ้อนเลยเห็นได้ชัดเจน
นอกจากนี้ เรายังสามารถดูภาพได้ในหลายแนว หลังจากสแกนเสร็จ เราสามารถให้คอมพิวเตอร์สร้างภาพในแนวผ่าร่างกายได้หลายแนว ดังตัวอย่างภาพข้างล่างนี้
ภาพแสดงมุมมองของก้อนเนื้องอกในหลายๆแนว ช่วยให้มองเห็นได้รอบด้านมากขึ้น

ใครบ้างที่ได้ประโยชน์จากการคัดกรองด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์?
ถ้าไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายก็ควรทำทุกคนตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไปครับ ปีละหนึ่งครั้ง
ปัญหาหลักคือ ค่าใช้จ่าย ตกปีละประมาณห้าพันบาท ใครที่มีกำลังจ่ายพอ ก็คิดว่าคุ้มครับ
ถ้าใครคิดว่าอายุมากแล้ว ถึงตรวจเจอก็ไม่ได้รักษาอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องทำละครับ

แล้วคนสูงอายุถ้าตรวจพบก้อนเนื้องอกระยะแรก แต่ร่างกายไม่เหมาะสมที่จะรับการผ่าตัด จะทำยังไง?
เราพอมีวิธีอื่นอีกไหม ? ต้องลองอ่านดูบทความนี้ครับ 

การรักษามะเร็งปอดด้วยเข็มความร้อน

 ลิงค์ กลับสู่หน้าสารบัญบทความ