เป็นทางเลือกหรือไม่? รักษาข้อเข่าเสื่อมด้วย "เลือด" ของผู้ป่วยเอง

ปวดเข่า

ปวดเข่า จากข้อเข่าเสื่อม (Knee osteoarthritis) เมื่อใดจะรักษาด้วยการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น (Platelet rich plasma injection)


คุณมีญาติที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมหรือไม่? 
ความทุกข์ทรมานจากการปวดเข่าสำหรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมช่างเรื้อรังยาวนานเสียเหลือเกิน ไม่ว่าจะปวดหรือการใช้ชีวิตไม่ปกติสุข แถมยังรำคาญสภาพตัวเองอีก
ผู้ป่วยแต่ละคนต่างพยายามเสาะแสวงหายาที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดจากเข่าเสื่อม (Knee osteoarthritis) เพราะหลายๆคนกลัวการผ่าตัดรักษา อย่างไรก็ขอให้เป็นทางเลือกสุดท้าย หากไม่มีวิธีอื่นๆที่บรรเทาได้แล้ว

การรับประทานยา
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นง่ายๆด้วยการซื้อยารับประทานเอง ซึ่งมักจะได้รับยาแก้อักเสบของระบบกล้ามเนื้อ (Nonsteroid anti-inflammatory drugs-NSAID) ซึ่งก็บรรเทาลงไปได้บ้าง เพราะยาไปลดการอักเสบ เมื่อรับประทานก็บรรเทาอาการ แต่หยุดรับประทานอาการก็กำเริบขึ้นอีก เราหวังผลที่ข้อเข่า แต่ตัวยานี้เข้าสู่ทั่วร่างกาย ซึ่งต้องระมัดระวังผลกระทบต่อหัวใจและหลอดเลือด ผลข้างเคียงต่อกระเพาะอาหาร และไต 
ดังนั้นการรักษาด้วยยารับประทานจึงไม่ใช่ทางแก้ไขปัญหาในระยะยาว
ถัดมาร้านยา ก็แนะนำอาหารเสริมบำรุงกระดูกอ่อนได้แก่ กลูโคซามีน (Glucosamine) สารนี้พบว่าช่วยมีการสร้างกระดูกอ่อนเพิ่มขึ้น แต่บางรายรับประทานแล้วรู้สึกดีขึ้น บางรายงานก็ว่าไม่ได้ช่วยอะไร ราคาอาหารเสริมนี้ก็ไม่เบา แถมยังต้องกินต่อเนื่องตลอดไป แต่ก็กินนานกว่าสองปี ก็ยังไม่มีข้อมูลรองรับว่าใช้ต่อเนื่องได้นานกว่าสองปีหรือไม่
หากอาการยังไม่บรรเทา หลายคนก็เริ่มไปพบแพทย์ แพทย์แนะนำให้ลดน้ำหนักตัว, บริหารข้อเข่า พร้อมทั้งให้ยารับประทานเหมือนที่ร้านขายยาให้มากินเป็นบางครั้ง

การฉีดยาเข้าข้อเข่า (intraarticular injection)
หากการรักษาเบื้องต้นของคุณหมอยังเอาไม่อยู่ อีกหนึ่งในวิธีการรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวดของข้อเข่าเสื่อมคือ การฉีดยาเข้าไปในข้อ (intraarticular injection) เพื่อหวังผลให้ลดอาการปวดข้อเข่า โดยไม่ต้องได้รับยาทั่วทั้งร่างกาย แพทย์พยายามค้นคว้าทดลองหาสารที่ฉีดเข้าไป ไม่ว่าจะเป็น สเตียรอยด์แก้อักเสบ, กลุ่มยากดภูมิต้านทาน (infliximab), กรดไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic acid), โบท็อกซ์ (botulinum neurotoxin A) จนกระทั่งมาถึง เกร็ดเลือดเข้มข้นของผู้ป่วยเอง (Homologous platelet rich plasma, PRP) จากผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์มากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มเห็นแนวโน้มว่า การฉีดเกร็ดเลือดเข้มข้นของผู้ป่วยเองเข้าไปในข้อเข่าให้ผลการรักษาในด้านลดอาการเจ็บปวดและปรับปรุงการทำงานของข้อเข่าได้ดีและยาวนานกว่าการฉีดด้วยสารชนิดอื่นๆ
ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาโดย Meheux และคณะ พบว่าการฉีดเกร็ดเลือดเข้มข้นเข้าข้อเข่าเสื่อมช่วยให้อาการผู้ป่วยดีขึ้นนานถึง 12 เดือนเลยทีเดียว (ที่มา https://emedicine.medscape.com/article/1997643-overview#a1)

ทำไมฉีดเกร็ดเลือดเข้มข้นทำให้อาการจากข้อเข่าเสื่อมดีขึ้นได้?
ยังไม่ทราบกลไกที่แท้จริง มีเพียงหลักฐานประกอบว่าสารกระตุ้นการเจริญเติบโต (growth factors) ในเกร็ดเลือดเข้มข้นไปเพิ่มการสังเคราะห์สารโปรตีโอไกลแคน (Proteoglycan) และคอลลาเจน (collagen) ในเซลล์กระดูกอ่อน (Chondrocytes)

ข้อห้ามในการฉีดเกร็ดเลือดเข้มข้นเข้าข้อเข่า
ห้ามฉีดในขณะที่ผู้ป่วยมีภาวะเกร็ดเลือดต่ำหรือเกร็ดเลือดทำงานผิดปกติ, ติดเชื้อในกระแสเลือด, ช็อค, ภาวะติดเชื้อในข้อเข่าหรือเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงจุดที่จะฉีดยา

วิธีการฉีดเกร็ดเลือดเข้มข้นทำอย่างไร?
ขั้นตอนการเตรียมเกล็ดเลือดเข้มข้นประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 4 ขั้น ดังภาพ
สี่ขั้นตอนหลักในการฉีดเกร็ดเลือดเข้มข้นรักษาข้อเข่าเสื่อม

หนึ่ง การเจาะเลือดออกจากแขนของผู้ป่วย
สอง เลือดจะถูกนำไปปั่นแยกชั้น
สาม ชั้นของเกร็ดเลือดจะถูกเก็บออกมา
สี่ ฉีดเกร็ดเลือดเข้นข้นเข้าสู่ข้อเข่า

ต้องทำบ่อยแค่ไหน?
โดยทั่วไปแพทย์จะฉีดเกร็ดเลือดสามครั้งห่างกันครั้งละ 7-10 วัน

ค่ารักษาเท่าไร?
ราคาฉีดต่อครั้งมีตั้งแต่ 4,000 ถึง 20,000 บาท ราคาสูงไม่จำเป็นต้องดีหรือราคาต่ำคุณภาพดีก็มี ดังนั้นขอให้สืบสถานบริการจากผู้ที่ได้ทดลองรักษาแล้วจะดีกว่า เพราะจากรายงานวิจัยหลายๆงาน ยังไม่ได้พบความแตกต่างของผลการรักษาจากวิธีที่ซับซ้อนจนนำมาสู่ราคาที่แสนแพงกับวิธีที่ง่ายๆซึ่งราคาจะถูกกว่า

หากคุณผู้สนใจการรักษาด้วยวิธีนี้ สอบถามได้ที่นี่

Link แผนที่: แผนที่ "บีอาร์เอกซ์จี โพลีคลินิก" คุณจะไม่พลาดข้อมูลสุขภาพที่ดีต่อตัวคุณ เพียงกดติดตาม https://www.facebook.com/brxggroup/