สายน้ำเกลือแบบใหม่ PICC line

อันนี้สำหรับคนที่ป่วยนานหน่อยครับ (ถ้านอนป่วยแค่ 2-3 วันก็ไม่จำเป็น ยกเว้นหาเส้นไม่ได้จริงๆ)
เวลาคนป่วยนอนในโรงพยาบาลต้องแทงเข็มคาท่อน้ำเกลือเล็กๆในหลอดเลือดดำตามแขนหรือขา
แต่คุณทราบไหมว่า พยาบาลจะต้องเปลี่ยนจุดแทงเข็มเพื่อต่อท่อน้ำเกลือทุกๆ 3 วัน เพื่อป้องกันภาวะหลอดเลือดดำอักเสบและหลอดเลือดดำอุดตันไป ผู้ป่วยต้องถูกแทงเข็มจุดใหม่ทุกๆ 3 วัน ผู้ป่วยแต่ละคนพยาบาลจะหาเส้นเลือดดำยากง่ายไม่เท่ากัน คนที่หายากก็ต้องทนเจ็บหลายหน
บางกรณีคนไข้จำเป็นต้องได้รับยาทางหลอดเลือดดำ แต่เป็นยาที่ระคายเคืองหลอดเลือดดำมาก อาจทำให้หลอดเลือดดำอักเสบอีก การแก้ปัญหาของแพทย์คือต้องแทงเส้นเลือดดำใหญ่บริเวณคอหรือใต้ไขปลาร้า ดังรูป 
การใส่สายหลอดเลือดใหญ่ส่วนกลาง บริเวณใต้ไขปลาร้า จะเห็นกว่าจุดทีแทงหลอดเลือดดำอยู่ใกล้ปอดของคุณและบริเวณนี้จะมีเหงื่อออกมากทำให้ติดเชื้อง่าย

แต่ปัญหาของแทงเส้นในหลอดเลือดดำใหญ่คือมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ทะลุเนื้อปอด และโอกาสติดเชื้อง่ายกว่าจึงคาสายไว้ไม่ได้นาน

จึงมีคนคิดค้นสายที่สามารถใส่เข้าหลอดเลือดดำบริเวณท่อนแขนแต่สายสอดอยู่ภายในหลอดเลือดดำปลายสายต่อเนื่องมาถึงหลอดเลือดดำใหญ่ขั้วหัวใจเรียกว่า PICC (Peripherally Inserted Central Catheter) Line ดังรูป



หลอดเลือดบริเวณท่อนแขน เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ เวลาจะแทงเข็มสอดสายเข้าหลอดเลือดดำได้จึงต้องมีเครื่องนำทางคือ อัลตร้าซาวนด์ หมอจะเห็นเข็มและหลอดเลือดดำผ่านจออัลตร้าซาวนด์จึงสอดเข็มเข้าได้อย่างแม่นยำ
การใช้เครื่องอัลตร้าซาวนด์เป็นตัวบอกภาพตำแหน่งเส้นเลือดช่วยให้แพทย์รู้ว่าเข็มกำลังลงไปยังส่วนไหนของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังของผู้ป่วย


นี่คือภาพจากจออัลตร้าซาวนด์แสดงให้ทราบว่าเราเห็นสายลวดนำอยู่ภายในหลอดเลือดดำแน่นอน ไม่ออกนอกเส้นทางแต่อย่างใด จึงมีความปลอดภัยสูง อีกอย่างหนึ่งแทงเข็มใต้แขนไม่มีเนื้อปอดจึงไม่ต้องกลัวภาวะแทงโดนเนื้อปอด

หลังจากใส่สายแล้วจะเห็นเฉพาะต้นสายโผล่ออกจากผิวหนังต้นแขนเท่านั้น หลังจากนั้นปิดพลาสเตอร์ไว้ทำแผลทุกวัน จุดนี้ก็ใช้ต่อกันสายน้ำเกลือ หรือให้เลือดให้สารอาหารหรือดูดเลือดไปตรวจ ก็ไม่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บอีกต่อไปละครับ
ภาพหลังจากใส่สาย PICC line สวยงาม ดูแลง่าย ใช้ได้ทนนานหลายสัปดาห์


ข้อดีของการใส่ PICC line

  • เจ็บตัวครั้งเดียวอยู่ได้นานเกือบเดือน
  • ผู้ป่วยนอกที่ต้องมาฉีดยาบ่อยๆ คาสายกลับบ้านเลย
  • ลดเวลาพยาบาลในการหาเส้นผู้ป่วยบ่อยๆ
ข้อเสีย

  • ราคาสายยังแพงอยู่
  • บุคลากรที่ใส่สายเป็นยังไม่เพียงพอ


เป็นยังไงบ้างบทความนี้ หากคุณอยากติดตามบทความ การรักษาแบบรูเล็ก เจ็บน้อยอีก ให้ไปกดปุ่ม f แนะนำ ด้านขวาได้นะครับ ใครดูผ่านมือถือสมาร์ทโฟนอาจไม่เห็นปุ่ม like ให้เข้ามากดในเฟสบุ๊คเพจ นี้นะครับ http://www.facebook.com/drrattawachir 

กลับ หน้า สารบัญบทความ

Link พัฒนาตนเอง

1. แนวทางพัฒนาการคิด
2. กด like ให้drrattawach fanpage

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น