มะเร็งเต้านม ทำอย่างไรให้ตรวจเจอเร็ว?

คุณทราบกันดีอยู่แล้วว่ามะเร็งเต้านมพบบ่อยเป็นอันดับต้นๆของมะเร็งในสตรีทั่วโลก
ส่วนสาเหตุก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ดังนั้นการป้องกันที่แน่นอนจึงไม่มี
ดังนั้นจึงมีแต่เพียงการคัดกรองเพื่อให้ตรวจพบโดยเร็วที่สุด
การคัดกรองที่มีความเหมาะสมจึงมีดังต่อไปนี้

เริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไปตรวจเต้านมตนเองทุกเดือน ชมวิดีโอวิธีการตรวจด้านล่าง...



หรืออันนี้
การตรวจเต้านมตนเอง

ตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไปควรมาตรวจคลำเต้านมโดยเจ้าหน้าทางการแพทย์ ทำเอกซเรย์เต้านมและอัลตร้าซาวนด์เต้านมทุก 1 ปี
หากว่ามีประวัติที่เสี่ยงมากขึ้นหมอแนะนำให้เริ่มตรวจตั้งแต่ 35 ปี 
ความเสี่ยงมากขึ้นกรณีไหนบ้าง?
หลักๆเลย คือ ญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมคือ แม่ พี่ น้อง หรือตัวคุณมีก้อนเนื้องอกอยู่แล้ว
รองๆลงมาคือ มีบุตรตอนอายุมากกว่า 30 ปี, การมีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี, หมดประจำเดือนช้าตอนอายุ 55 ปี ,การไม่มีบุตร, การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลานานๆ
 การตรวจเอกซเรย์เต้านม (mammography)
ผู้เชี่ยวชาญจะปรับตำแหน่งให้เหมาะสม เครื่องมือจะกดเต้านมให้แบนลงเพื่อให้ถ่ายภาพรังสีได้ชัดขึ้น แต่ไม่ต้องกังวลว่าจะเจ็บมาก  คุณจะได้รับปริมาณรังสีน้อยมาก เป็นระดับที่ไม่กระตุ้นให้เกิดมะเร็ง
ภาพแสดงการตรวจเอกซเรย์เต้านม (MAMMOGRAPHY)


















การตรวจเต้านมด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonography)
ใช้หลักการส่งคลื่นเสียงผ่านหัวตรวจไปยังเนื้อเยื่อเต้านมและรับสัญญานเสียงกลับคล้ายระบบโซนาของเรือดำน้ำคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับในระดับต่างกันจะถูกคอมพิวเตอร์สร้างเป็นรูปภาพของเนื้อเยื่อภายในเต้านมซึ่งแพทย์สามารถแปลผลความผิดปกติได้


การตรวจเต้านมด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonography) ผู้รับการตรวจอยู่ในท่านอนชูแขนข้างนั้นขึ้นฝ่ามือรองใต้ศีรษะ ระหว่างหัวตรวจอัลตร้าซาวนด์และผิวสัมผัสเต้านมจะมี เจล(Jelly) ลดช่องว่างอากาศ ผู้รับการตรวจอาจรู้สึกเย็นจากเจลนี้ซึ่งจะถูกเช็ดทำความสะอาดหลังตรวจเสร็จ

โดยเฉลี่ยระยะเวลาตรวจเอกซเรย์เต้านมจนกระทั่งเสร็จสิ้นการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงของเต้านมจะไม่ควรเกินหนึ่งชั่วโมง 

หากพบความผิดปกติที่ควรติดตามทุก 6 เดือนแพทย์แจ้งให้ทราบและนัดหมายคุณมาตรวจและใกล้ถึงเวลาจะโทรศัพท์ติดตามอีกครั้งเพื่อป้องกันการลืมนัดหมาย

หากความผิดปกติที่ควรได้รับการพิสูจน์ชิ้นเนื้อโดยเร็ว แพทย์จะนัดหมายให้มารับการเจาะเก็บชิ้นเนื้อเพื่อการพิสูจน์โดยเร็ว


กลับ หน้า สารบัญบทความ


Link พัฒนาตนเอง

1. แนวทางพัฒนาการคิด
2. กด like ให้drrattawach fanpage

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น