ระวัง ก้อนที่คอ ตอน 2: ก้อนของต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์อยู่ตรงไหน?
ดูรูปก่อนเลยครับ...
ภาพต่อมไทรอยด์

มันอยู่ด้านหน้าของลำคอ ข้างๆแนวกึ่งกลางออกมาทั้งสองข้าง และวางอยู่ข้างๆหลอดลมที่อยู่ถัดจากกล่องเสียงลงมาเล็กน้อย ดูรูป
ภาพแสดงต่อมไทรอยดืวางตัวอยู่หน้าหลอดลมใต้ต่อกระดูกอ่อนไทรอยด์

มีความสำคัญอย่างไร?
ต่อมไทรอยด์ ช่วยผลิตสารควบคุมการเผาผลาญอาหารในร่างกายและควบคุมระดับแร่ธาตุแคลเซียมในกระแสเลือดให้สมดุล

ก้อนในต่อมไทรอยด์เป็นอย่างไร?
ปกติแล้วต่อมไทรอยด์จะไม่มีก้อนเลย แต่ถ้าก้อนพัฒนาขึ้นมาก็จะผิดปกติ ดังภาพตอนล่าง

เจ้าต่อมนี่ มันเกิดก้อนได้บ่อยแค่ไหน?
หากตรวจพบโดยการคลำจะพบได้ ราว 4%-8% ในผู้ใหญ่
แต่หากตรวจพบโดยการทำอัลตร้าซาวด์ จะพบถึง 10%-41% (ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าคนที่คลำไม่ได้ก็จะถูกตรวจเจอด้วย)
จากการศึกษาโดยการตรวจศพพบได้ถึง 50% (ซึ่งแปลว่าสุ่มในคนสูงอายุจะพบได้เพิ่มขึ้น)

จากการพิสูจน์โดยการเจาะตรวจคนที่เป็นก้อนในต่อมไทรอยด์ พบมะเร็ง 9.2%-13.0%

เราจะกรองหาก้อนในต่อมไทรอยด์ได้อย่างไร? ตรวจคลำด้วยตนเอง
โดยใช้นิ้วคลำทั่วๆถ้ารู้สึกสะดุดนูนๆตรงไหนไม่แน่ใจให้ไปพบแพทย์ เพื่อตรวจแน่ใจอีกสักที
ดูวิธีตรวจแบบบ้านๆตามวิดีโอข้างล่างนี้ครับ

สำหรับใครที่ดูวิดีโอไม่ได้ ลองเข้าลิงค์นี้ครับ การตรวจคลำต่อมไทรอยด์

ตรวจด้วยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทำอัลตร้าซาวด์ที่คอ 
วิธีนี้จะละเอียดกว่าและตรวจได้เนิ่นๆตั้งแต่ยังคลำไม่เจอ
ภาพแสดงการตรวจหาก้อนในต่อมไทรอยด์ด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์

การตรวจด้วยการคลำคอไม่สามารถแยกแยะลักษณะมะเร็งในระยะเริ่มต้นได้ (ได้แต่ก้อนใหญ่ๆ) ซึ่งสมัยนี้คงต่ำกว่ามาตรฐานชีวิตของคนเราแล้ว
ตัวอย่างภาพอัลตร้าซาวด์ของต่อมไทรอยด์ที่ปกติครับ
ภาพอัลตร้าซาวนด์ของต่อมไธรอยด์ที่ปกติ เนื้อจะละเอียดใกล้เคียงกัน

การตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์จึงมีความจำเป็นในการแยกลักษณะของก้อน ตามลำดับขั้นตอนการส่งตรวจ 
ภาพอัลตร้าซาวด์ของก้อนในต่อมไทรอยด์
ภาพอัลตร้าซาวด์แสดงก้อนในต่อมไทรอยด์ โดยตัวอย่างรายนี้ ก้อนในต่อมไทรอยด์ข้างซ้ายมีขนาดใหญ่กว่าก้อนที่พบในต่อมไทรอยด์ขวา


จากลักษณะอัลตร้าซาวด์ของก้อนในต่อมไทรอยด์ จึงนำมาแจกแจงระดับโอกาสเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ และขนาดของก้อนที่ควรได้รับการเจาะพิสูจน์มะเร็งดังต่อไปนี้
ตารางแจกแจงโอกาสเสี่ยงมะเร็งของก้อนในต่อมไทรอยด์จากลักษณะอัลตร้าซาวด์



ก้อนที่ลักษณะที่สงสัยมะเร็งมาก แพทย์จะแนะนำให้ใช้เข็มเล็กๆเจาะเก็บเซลล์เนื้อเยื่อจากก้อนไปพิสูจน์มะเร็ง
(สำหรับลักษณะทางภาพอัลตร้าซาวด์ที่จะแยกแยะว่าก้อนลักษณะใดจำเป็นต้องเจาะ นั้นเกินขอบเขตที่ทางประชาชนทั่วไปจะต้องทราบ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแพทย์ในการให้ความเห็นจะเหมาะสมกว่า)
ภาพการเจาะเก็บเซลล์โดยใช้อัลตร้าซาวดน์นำทาง
ภาพแสดง แพทย์ใช้อัลตร้าซาวด์นำทางให้สอดเข็มเข้าไปเก็บเซลล์เนื้อเยื่อจากก้อนในต่อมไทรอยด์เอาออกมาตรวจพิเศษทางเซลล์วิทยา



ภาพอัลตราซาวด์จอมอนิเตอร์แสดงให้เห็นเข็มเข้าไปก้อนของต่อมไทรอยด์อย่างแม่นยำ

ภาพอัลตร้าซาวด์แสดงเข็ม (รอยเส้นตรงสีขาว) เข้าไปในก้อน (วงล้อมสีแดงคือหมอวาดรอบล้อมขอบเขตก้อน) แสดงว่าเข็มเข้าไปในก้อนแน่นอน ไม่ผิดพลาด
เซลล์ที่เก็บได้จากก้อนจะถูกนำไปย้อมสีพิเศษเพื่อตรวจด้วยกล้องกำลังขยายสูงหาความผิดปกติต่อไป
ภาพแสดงตัวอย่างเซลล์มะเร็งจากก้อนในต่อมไทรอยด์ชนิดหนึ่ง ดูด้วยการย้อมสีพิเศษและขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์
หากพบมะเร็งไทรอยด์ จะให้การรักษาตามหลักทางการแพทย์ต่อไป

สำหรับผู้ที่พบก้อนเนื้อไม่ว่าจะคลำพบหรือตรวจพบโดยเครื่องมือแพทย์ และยังไม่สงสัยมะเร็ง ควรตรวจติดตามเป็นระยะด้วยอัลตร้าซาวด์ทุกๆ 6 เดือน 
เมื่อติดตามไปสักระยะหนึ่ง(อาจจะประมาณสองปี) แพทย์เห็นว่าปลอดภัยระดับหนึ่ง ก็สามารถเลื่อนระยะเวลาติดตามอาการห่างขึ้นไปเป็นปีละครั้งต่อไป

"มะเร็งต่อมไทรอยด์ อาจกระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายแล้วตั้งแต่เราคลำพบก้อน หากเราใส่ใจตัวเองคลำต่อมไทรอยด์ของเราเป็นระยะๆ และไปให้แพทย์ตรวจให้บ้างก็จะช่วยให้เรามีโอกาสพบโรคในระยะเริ่มต้นได้มากกว่าการรอให้ก้อนใหญ่แล้วค่อยไปพบแพทย์"



ค้นหาสถานที่ตรวจอัลตร้าซาวด์ต่อมไทรอยด์ ที่นี่

https://www.facebook.com/brxggroup/

แผนที่

https://goo.gl/maps/2MeKBWY5dgDj4ysK6


หากมีข้อสงสัยต้องการถามในบล็อกนี้ โปรดพิมพ์คำถามในกล่องความเห็นข้างล่างนี้ครับ

กลับสู้หน้า สารบัญบทความ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น