แผนภาพแสดงการเจาะเก็บเนื้อเยื่อจากก้อนในปอด |
เมื่อไรจะเจาะปอด?
เมื่อพบรอยผิดปกติจากภาพเอกซเรย์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก ซึ่งแพทย์ยังไม่สามารถตัดประเด็นเรื่องมะเร็งในทรวงอกออกไปได้ หรือแพทย์ต้องการดูเนื้อเยื่อว่าจะเป็นความผิดปกติแบบใด จะได้เดินหน้ารักษาต่อไปได้ถูกทาง
เกี่ยวกับอาการหรือไม่?
ผู้ที่พบรอยผิดปกติจาพภาพเอกซเรย์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ มีสองประเภท
ประเภทที่หนึ่ง กลุ่มสบายดี แต่มาตรวจสุขภาพเจอรอยโรค แล้วส่งพบแพทย์โรคทรวงอกพิจารณาแล้ว ควรเจาะพิสูจน์เพื่อวางแผนจัดการต่อไป
ประเภทที่สอง กลุ่มมีอาการ มาพบแพทย์ส่งเอกซเรย์ตรวจเจอรอยโรค ส่งพบแพทย์ทางโรคทรวงอกแล้ว พิจารณาว่าควรพิสูจน์เนื้อเยื่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
แน่นอนว่าประเภทที่หนึ่งย่อมมีโอกาสพบรอยโรคมะเร็งระยะแรกๆ ส่วนประเภทที่สองจะพบรอยโรคที่เป็นมากกว่า
ตัวอย่างรอยโรคในเอกซเรย์ทรวงอก
ผู้ป่วยรายหนึ่งมาด้วยอาการเจ็บหัวไหล่ขวา ภาพเอกซเรย์ทรวงอกพบก้อนกลมขนาดใหญ่ติดกับช่องอกด้านขวาบน (ลูกศรชี้) |
จะเตรียมตัวก่อนเจาะเก็บเนื้อเยื่อจากทรวงอกอย่างไร?
รังสีแพทย์จะตรวจสอบประวัติดูก่อนว่ามีข้อห้ามในการเจาะหรือไม่ ส่วนใหญ่เป็นภาวะที่แก้ไขได้ หลังจากแก้ไขข้อห้ามเหล่านี้แล้วก็จะสามารถเจาะปอดได้
ข้อห้ามในการเจาะ ได้แก่
ภาวะเลือดแข็งตัวช้า จากโรคประจำตัว หรือจากยาต้านการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากแผลจากรูเจาะแม้จะเล็กแต่หากเลือดจับตัวเป็นก้อนได้ช้าก็อาจเสียเลือดมากได้ เราจึงต้องแก้ไขภาวะนี้ให้ปกติก่อนทำการเจาะ
ภาวะถุงลมโป่งพอง หรือคนไข้ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่่ ก็เสี่ยงจะเกิดลมรั่วในช่องอกง่าย
ตรวจสอบประวัติแล้วยังไม่พอยังต้องตรวจเลือดหาค่าการแข็งตัวของเลือดว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ หากผิดปกติจะมีวิธีแก้ไข เช่น การให้หยุดใช้ยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวยาก, การให้น้ำเลือด หรือเกร็ดเลือดได้หรือไม่
การงดน้ำและอาหาร มักจะงดประมาณ 4-6 ชั่วโมงก่อนเวลาเจาะ เพื่อป้องกันการสำลักอาหารเข้าสู่ทางเดินหายใจ (อันนี้เป็นการป้องกันไว้ก่อน เพราะไม่แน่บางครั้งผู้ป่วยกลัวจนเกิดอาการชัก อาจสำลัก)
กระบวนการเจาะเนื้อเยื่อทรวงอกทำอย่างไร?
ผู้ป่วยจะนอนบนเตียงที่จัดเตรียมมีเครื่องเอกซเรย์วิดีโอ (Fluoroscopy) หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
ภาพแสดงผู้ป่วยรับการเจาะปอดบนเตียงเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ |
พยาบาลจะวัดความดันโลหิตและชีพจรของผู้ป่วยก่อนการทำหัตถการเพื่อเอาไว้เปรียบเทียบกับหลังการเจาะ และจะตรวจจับชีพจรและความเข็มข้นออกซิเจนในเลือด(วัดจากปลายนิ้ว)
เมื่อเครื่องเอกซเรย์วิดีโอหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สแกนภาพรอยโรคเจอแล้วแพทย์จะวางแผนหาแนวที่จะสอดเข็มผ่านผิวหนังเข้าไป
หลังจากนั้นแพทย์จะทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ปิดผ้าคลุมสะอาดรอบๆบริเวณที่จะเจาะ
ฉีดยาชาเพื่อไม่ให้เกิดอาการปวดระหว่างเจาะ หลังจากนั้นจะสอดเข็มพิเศษเข้าไป สแกนภาพและปรับทิศทางและความลึกของเข็มเป็นระยะ จนกว่าเข็มเข้าไปถึงตำแหน่งรอยโรคที่ต้องการเก็บเนื้อเยื่อ
แผนภาพแสดงการสอดเข็มเข้าไปถึงรอยโรคในทรวงอกผู้ป่วยซึ่งแพทย์จะดูภาพของเข็มได้จากการสแกนเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และปรับทิศทางเข็มเป็นระยะจนกว่าปลายเข็มจะถึงรอยโรค |
เข็มที่เจาะเนื้อเยื่อจะต่างกับเข็มฉีดยาทั่วไป ต้องเป็นเข็มที่พิเศษมีกลไกพิเศษให้สามารถเฉือนเนื้อเยื่อให้เก็บไว้ในรูเข็มได้
ขนาดเส้นผ่านศุนย์กลางของเข็มโดยทั่วไปจะไม่เกิน 0.035 นิ้ว(0.91 มิลลิเมตร)
เข็มเจาะชิ้นเนื้อแบบพิเศษ |
ภาพแสดงปลายเข็มเจาะเนื้อเยื่อมีร่องสำหรับเก็บเนื่อเยื่อหลังจากเข็มเฉือนเนื้อเยื่อได้แล้วจะเก็บเนื้อเยื่อเล็กๆไว้ในร่องนี้ |
หลังจากเจาะแล้วเนื้อเยื่อเข้ามาอยู่ในร่องของปลายเข็ม
ภาพแสดงเนื่อเยื่อที่เข็มตัดได้เก็บไว้ในร่องของเข็ม เมื่อดึงเข็มออกมาและเปิดกลไกเข็มออกจะเขี่ยเนื้อเยื่อออกมาส่งตรวจทางพยาธิวทยาต่อไป |
หลังการเจาะเป็นอย่างไร?
หลังจากแพทย์นำเข็มออกจากทรวงอก แพทย์จะกดปากรูเข็มเพื่อห้ามเลือด ปริมาณเลือดที่ออกจะน้อยมาก (เพียงสองสามหยด) โดยส่วนใหญ่
มีผู้ป่วยบางรายที่อาจไอออกมามีเลือด กรณีนี้เกิดจากตอนเข็มเจาะเข้าในรอยโรค รอยโรคนี้มีการติดต่อกับหลอดลมของปอดเมื่อเลือดไหลเข้าไปในหลอดลมจะระคายเคืองหลอดลมและไอมีเลื่อดปนออกมาโดยส่วนใหญ่เลือดจะหยุดเอง แพทย์จะอธิบายล่วงหน้าไม่ให้ผู้ป่วยตกใจ มีเพียงน้อยรายมากที่มีไอแล้วเลือดอออกมากและนานจนต้องทำการรรักษาด้วยการอุดหลอดเลือดของหลอดลม
เมื่อแน่ใจว่าไม่มีเลือดออกจากรูเข็มแล้ว จะสแกนเอกซเรย์คอมพิวเตอร์อีกครั้งเพื่อเช็คให้แน่ใจว่าไม่ลมรั่วออกจากปอดเข้าไปขังในช่องว่างในช่องอก จนกระทั่งผู้ป่วยรู้สึกอีดอัด ซึ่งน้อยรายมากที่จำเป็นต้องระบายลมรั่วที่คั่งออกด้วยการใส่สายระบายลมผ่านทางผิวหนัง
หากไม่มีเลือดออกจากรูปากแผลแล้ว จะปิดคลุมแผลด้วยพลาสเตอร์ไว้นาน 24 ชั่วโมง แผลก็จะสมานได้เองโดยไม่ต้องเย็บปากแผล เนื้องจากรูเข็มขนาดเล็กมาก โดยทั่วไปไม่เกิน 2 มิลลิเมตร
ขั้นตอนต่อไปเป็นการสังเกตอาการในโรงพยาบาลไว้นาน 4 ชั่วโมง ระหว่างนี้จะมีพยาบาลคอยติดตามชีพจรและวัดความดันโลหิตที่แขนเป็นะรยะทุก 15 นาที
แพทย์อาจถ่ายภาพเอกซเรย์เช็คดูลมรั่วในปอดหลังการเจาะ ครึ่งชั่วโมง และสีชั่วโมง
เมื่อครบเวลาสี่ชั่วโมงและผู้ป่วยไม่มีอาการไอปนเลือด ไม่หายใจติดขัดหรือเหนื่อย มีชีพจรและความดันโลหิตไม่เปลี่ยนแปลงไปจากก่อนการเจาะ ไม่มีลมรั่วในช่องอกระดับที่ต้องรักษา แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้
ผลวิเคราะห์เนื้อเยื่อ จะรับรู้ภายใน 2-7 วันขึ้นอยู่กับชนิดของการส่งตรวจ
หากมีคำถามเพิ่มเติมใดๆ ท่านสามารถถามในช่องแสดงความคิดเห็นท้ายบทความได้ครับ
ดูบทความอื่นๆอีก กรุณา กลับไปยังหน้า สารบัญบทความ
ถ้าเป็นในเด็กอายุไม่เกิน15ปี มีวิธีรักษาแบบใดบ่างครับ
ตอบลบถ้าเป็นในเด็กอายุไม่เกิน15ปี มีวิธีรักษาแบบใดบ่างครับ
ตอบลบ