สถานการณ์
มะเร็งปอดยังพบผู้ป่วยมากขึ้น แม้ว่าสาเหตุส่วนใหญ่ของมะเร็งปอดที่เราทราบกันว่า คือ การสูบบุหรี่หรือการได้รับควันบุหรี่โดยไม่ได้ตั้งใจ แต่เรายังพบว่ามะเร็งปอดในเพศหญิงที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบุหรี่ เพิ่มขึ้น สาเหตุนั้นยังไม่ทราบ ได้แต่สันนิษฐานเรื่องมลพิษต่างๆ ซึ่งก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้แน่ชัดนัก
ดังนั้นการป้องกันมะเร็งปอด นอกเหนือจากการหลีกเลี่ยงควันบุหรี่แล้ว ก็ไม่มีวิธีเฉพาะเจาะจงใดๆการรักษามะเร็งปอดด้วยเข็มความร้อน (Thermal Ablation)
คือการใช้เครื่องมือสแกนภาพร่างกาย เช่น เอกซเรย์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นตัวนำวิถี ให้แพทย์สอดเข็มเข้าไปถึงเนื้องอกในปอด เชื่อมต่อเข็มกับเครื่องกำเนิดความร้อนควบคุมให้เกิดความร้อนรอบๆปลายเข็มให้ทำลายเฉพาะตัวก้อนโดยหลีกเลี่ยงการทำลายเนื้อเยื่อปกติ
(เราสามารถทำลายเนื้องอกมะเร็งได้ด้วยทั้งความร้อนหรือความเย็นจัดก็ได้ ขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่ทางโรงพยาบาลนั้นจัดหาได้)
ภาพแสดงเข็มสอดเข้าไปถึงก้อนเนื้องอกในปอด ส่วนของโคนเข็มจะต่อกับแหล่งกำเนิดความร้อนเพื่อสร้างความร้อนบริเวณปลายเข็มให้ทำลานมะเร็งปอด |
การขจัดมะเร็งด้วยเข็มความร้อน
แหล่งกำเนิดความร้อนที่มีขายปัจจุบันมีสองระบบคือ ระบบคลื่่่นวิทยุ (Radiofrequency) และระบบคลื่นไมโครเวฟ (Microwave)
ตัวอย่างเครื่องกำเนิดคลื่นวิทยุที่จะเปลี่ยนเป็นความร้อนที่ปลายเข็ม |
แผนภาพแสดงหลักการทำลายมะเร็งด้วยเข็มความร้อน |
การใช้เข็มความร้อนจึงมีที่ใช้ในกรณี
- ก้อนมะเร็งเล็กสามารถรักษาโดยการผ่าตัดจะดีกว่า แต่แพทย์ประเมินสภาพร่างกายผู้ป่วยแล้วไม่สามารถทนรับการผ่าตัดได้
- ก้อนมะเร็งขนาดใหญ่หรืออยู่ในตำแหน่งที่ไ่ม่สามารถผ่าตัดออกได้หมดเนื้องจากติดกับอวัยวะสำคัญอื่น เช่น หลอดลม หลอดเลือดใหญ่ ผนังช่องอก
การเตรียมตัว
- แจ้งแพทย์ให้ทราบว่า ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยาหรือภูมิแพ้ใดๆบ้าง รวมทั้งโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงต่อการให้ยาระงับความรู้สึกตัว
- แพทย์อาจเน้นให้ผู้ป่วยจำกัดยาหรืออาหารบางอย่างก่อนวันตรวจและตรวจเลือด
- แพทย์อาจให้ผู้ป่วยงดน้ำและอาหารตามระยะเวลาที่ระบุก่อนวันรักษา
- จะต้องเตรียมบุคคลที่จะเป็นผู้นำผู้ป่วยกลับบ้านหลังการรักษา
ขณะที่รักษาเป็นอย่างไร?
- แพทย์จะจัดให้ผู้ป่วยนอนบนเตียงตรวจที่มีการวัดความดันโลหิต ชีพจร
- พยาบาลจะให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ สำหรับเป็นช่องทางให้ยาระงับความรู้สึก
- แพทย์จะสแกนทรวงอกผู้ป่วยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อระบุตำแหน่งก้อนมะเร็ง
- แพทย์จะทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะสอดเข็มเข้าช่องอก
- จะฉีดยาชาบริเวณทีจะสอดเข็ม
- โดยการนำวิถีด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ แพทย์จะสอดเข็มเข้าไปผ่านทางผิวหนังและปรับทิศทางและความลึกเป็นระยะจนกระทั่งตำแหน่งปลายเข็มอยู่ในก้อนมะเร็ง
ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แสดงปลายเข็มอยู่ในตำแหน่งก้อนมะเร็งพอดี - การปล่อยความร้อนแต่ละรอบ จะใช้เวลาประมาณ 10 ถึง 30 นาที หากแพทย์เห็นว่ายังให้ความร้อนไม่ทั่วก้อน อาจพิจารณาหรับตำแหน่งเข็มและปล่อยความร้อนในรอบต่อไปตามแต่ละกรณี
- กรณีเสร็จจากการให้ความร้อน แพทย์ถอนเข็มออกและปิดพลาสเตอร์คลุมแผลเพื่อป้องกันการเสียเลือด
การพักฟื้น
- หลังการสอดเข็มความร้อน ผู้ป่วยอยู่ในห้องสังเกตอาการ จะได้รับการวัดความดันโลหิตและชีพจรเป็นระยะๆ และถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอกเพื่อตรวจสอบว่ามีภาวะปอดแฟบจากลมรั่วคั่งในช่องอกหรือไม่ หากพบภาวะนี้ แพทย์อาจพิจารณาใส่ท่อระบายลมรั่วในช่องอกให้ผู้ป่วย
- ต่อมาเมื่อแน่ใจว่าชีพจรและความดันโลหิตปกติและไม่พบภาวะปอดแฟบแล้ว แพทย์จึงอนุญาตให้ย้ายผู้ป่วยไปยังหอพักผู้ป่วยปกติได้
- โดยปกติระยะเวลาที่ผู้ป่วยจะนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลประมาณ 24 ถึง 48 ชั่วโมง
- ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตปกติได้ภายในไม่กี่วันหลังการรักษา
- ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดบริเวณที่สอดเข็ม หรืออาจจะมีไข้ต่ำๆได้
ผลการรักษา
หลังจากการให้ความร้อนบริเวณเนื้องอกจะกลายเป็นเนื้อตายบริเวณกว้างกว่าขนาดเนื้องอกเดิม (เราต้องทำลายบริเวณปกติเหลือออกไปจากเนื้องอกเล็กน้อยเพื่อให้แน่ใจว่าความร้อนแผ่คลุมเนื้องอกได้ทั้งหมด
ในเวลาต่อมาบริเวณเนื้อตายก็จะฝ่อหายไปเหลือแต่เพียงแผลเป็นเล็กๆ
ก่อนจะให้การรักษาเสริมด้วยยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีรักษา เพื่อให้ประสิทธิภาพการให้ยาหรือรังสีรักษาดีขึ้นและเป็นการบรรเทาอาการของผู้ป่วยอีกทางหนึ่ง
กลับสู่ หน้า "สารบัญบทความ"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น