ภาพแสดงช่องว่างภายในท้องบรรจุอวัยวะภายในอยู่จะไม่เห็นน้ำรอบๆอวัยวะเนื่องจากน้ำน้อยมากๆ |
แต่เมื่อเกิดความผิดปกติจนมีน้ำในช่องท้องมากขึ้น (ด้วยหลายสาเหตุมากมาย) ก็ถึงคราวที่จะหาสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของน้ำในช่องท้อง
รูปช่องท้อง สีฟ้าแสดงถึงปริมาณน้ำในช่องท้องที่่เกินภาวะปกติ |
หากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจทางภาพถ่ายร่างกาย ก็เพียงพอที่แพทย์จะสรุปสาเหตุของน้ำในช่องท้องแล้ว การเจาะเอาน้ำมาตรวจก็ไม่มีความจำเป็น
การเจาะน้ำในท้องจึงมีข้อบ่งชี้เฉพาะสองประการเท่านั้นคือ
1. เพื่อนำน้ำในช่องท้องมาวิเคราะห์ หาสาเหตุความเจ็บป่วย
2. เพื่อระบายน้ำที่มีปริมาณมากออก ช่วยลดความอึดอัดแน่นท้องให้ผู้ป่วยกรณีที่ทราบโรคแล้ว
สมัยก่อนที่ยังไม่มีเครื่องอัลตร้าซาวดน์ช่วยนำร่องการเจาะดูดน้ำออกจากช่องท้อง แพทย์จะใช้ความคุ้นเคยของตำแหน่งของน้ำที่มักจะเจาะได้อย่างปลอดภัย ซึ่งมักจะเป็นตำแหน่งข้างๆลำตัว โดยฉีดยาชา แล้วค่อยๆสอดเข็มเล็กๆที่ต่อกับกระบอกฉีดยา สอดผ่านผิวหนังเข้าไปที่ละน้อยพลางก็ออกแรงดูดไปด้วย พอปลายเข็มเข้าถึงระดับน้ำในท้องแล้วก็หยุดดันเข็ม พยายามคาเข็มให้อยู่นิ่งไม่เลื่อนตำแหน่งและดูดน้ำออก ในปริมาณที่้ต้องการ วิธีดั้งเดิมนี้ จะว่าไปแล้วก็ไม่ค่อยมีปัญหาเจาะโดนอวัยวะในช่องท้องมากเท่าไร แต่ว่ากรณีที่ปริมาณน้ำน้อยๆ ก็จะมีความเสี่ยงที่เข็มจะเจาะโดนอวัยวะภายในได้ง่าย
สมัยก่อนไม่มีอุปกรณืภาพนำร่อง ตำแหน่งกากบาทคือตำแหน่งทีมักเจาะน้ำในช่องท้อง |
แพทย์จะใช้การเคาะฟังเสียงโปร่งทีบพิจารณาว่ามีน้ำอยู่ภายใต้ผนังช่องท้องลงไปหรือไม่แล้วจึงลงมือเจาะ |
หลังจากนั้นแพทย์จะสอดเข็มที่ต่อกับหลอดฉีดยาเพื่อค่อยๆสอดลงไปพลางก็ดูดหลอดฉีดยาเพื่อดูว่าถึงระดับน้ำหรือยัง |
แต่ในปัจจุบัน มีเครื่องมือนำวิถีคือ อัลตร้าซาวดน์ โดยเมื่อแพทย์วางหัวตรวจอัลตร้าซาวดน์ลงสัมผัสผิวหนังหน้าท้องผู้ป่วยบริเวณใด จอแสดงผลก็จะแสดงให้เห็นภาพของส่วนที่อยู่ลึกลงไปว่าเป็นอวัยวะใด และยังสามารถเห็นเข็มที่สอดเข้าไปได้อีกด้วย จึงทำให้การสอดเข็มเข้าช่องท้อง ไม่ผิดพลาด ไม่เกิดการแทงโดนอวัยวะภายในอย่างแน่นอน วิธีนี้แม้มีน้ำปริมาณน้อยๆ ก็สามารถเจาะได้โดยปลอดภัย
การสอดเข็มเข้าไปในช่องท้องเพื่อเจาะดูดน้ำผ่านกการนำวิถีด้วยอัลตร้าซาวดน์ทำให้แพทย์มองเป็นทิศทางและตำแหน่งของเข็มอย่างทันที (realtime) ทำให้มั่นใจได้มากขึ้น |
เมื่อดูภาพบนจอแสดงผลของเครื่องอัลตร้าซาวนด์แพทย์จะเห็นเข็ม (ลูกศรชี้ที่เข็ม) ผ่านจากผิวหนังเข้ามาอยู่ในช่องท้องที่มีน้ำ (สีดำสนิท) และเข็มไม่ได้แทงโดนลำไส้ จึงมันใจได้ว่าไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน |
จะเห็นว่าเครื่องมือภาพและอุปกรณ์เจาะในปัจจุบันได้ช่วยให้การดูแลผู้ป่วยปลอดภัยและสะดวกมากขึ้นจริงๆครับ
ดูบทความอื่นๆ กลับไปยังหน้า สารบัญบทความ
อย่าลืม กด like หน้าเพจ หมอรัฐวัชร์ในเฟสบุ๊คนะครับ ขอบคุณครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น